ในการรับถ่ายภาพสินค้า “สภาพแสง” นั้นถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างแรกๆเลยก็ว่าได้ เพราะหากสภาพแสงไม่เอื้ออำนวย คุณภาพของภาพที่ถ่ายได้ก็อาจจะไม่ดีไม่โดนเท่าที่ควร ซึ่งจะส่งผลต่อความรู้สึกของลูกค้าที่มีต่อสินค้าของเราด้วยเช่นกัน ในตอนนี้เราจะมาศึกษาเรื่องการจัดแสงกันก่อน
ทฤษฎีแสง : เพื่อความไม่น่าเบื่อ จะพยายามอธิบายสั้นๆแบบเนื้อๆประเภทที่จำและนำไปประยุกต์ใช้กันเลยนะ
ระยะห่างของแหล่งกำเนิดแสงกับวัตถุ มีผลต่อเงามืดและเงามัวของวัตถุ (ในกรณีที่ระยะวัตถุกับฉากมีระยะเท่ากัน)
เมื่อแหล่งกำเนิดแสงทะลุผ่านสิ่งกีดขวางชนิดโปร่งแสง จะเกิดการกระเจิงแสงทางด้านหลัง ทำให้แสงที่ได้จากทางด้านหลังสิ่งกีดขวางชนิดโปร่งแสงมีความนุ่มขึ้น เช่น การนำกระดาษไขมากั้นระหว่างแสงกับแบบที่จะถ่าย เป็นต้น
เมื่อแหล่งกำเนิดแสงมีการตกกระทบบนวัตถุผิวมันเงาจะเกิดการสะท้อนแสงแข็งกลับไป (เช่น กระจก) แต่หากแสงมีการตกกระทบไปบนวัตถุผิวด้านแสงที่สะท้อนออกมาจะเป็นแสงที่กระเจิงมากขึ้นทำให้ได้แสงสะท้อนที่นุ่มขึ้น (เช่น แผ่นกระดาษสีขาว)
รูปแบบการจัดแสง
ในการจัดแสงนั้น อันที่จริงมันเป็นศาสตร์ที่ไม่มีการตายตัวเท่าไหร่ครับ เพราะมันคือการแก้ไขสภาพแสงที่มันเกิดขึ้นในที่ใดๆมากกว่า หรือในบางครั้งอารมณ์หรือรูปแบบของภาพถ่ายที่เราต้องการ ก็ทำให้การจัดแสงที่ได้มีความแตกต่างกันออกไปไม่เหมือนกันครับ ดังนั้นในการแนะนำรูปแบบการจัดแสงนี้ ผมจะเพียงแค่ยกตัวอย่างหลักของการจัดแสงที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้กันนะ
2 Lights System คือการใช้แสง 2 ทาง ซึ่งจะช่วยทำให้การเกิดเงาทางด้านใดด้านหนึ่งนั้นน้อยลง ภาพดูมีมิติขึ้นกว่าการใช้แสงทางเดียว
3 Lights System การใช้แสง 3 ทางจะช่วยให้รายละเอียดในบางจุดของภาพนั้นมีความเด่นชัดมากยิ่งขึ้น รายละเอียดในมุมบางจุดถูกเปิดขึ้นโดยแสงหลายๆทาง ภาพดูสว่างแบบมีมิติมากขึ้น