Tag: บ้านมือสอง

การซื้อขายทอดตลาดบ้านมือสองที่พบกันในปัจจุบัน

บ้านมือสองขายทอดตลาดผ่านทางกรมบังคับคดี

ปัจจุบันการขายทอดตลาดบ้านมือสองในบ้านเรา อาจแบ่งออกได้ เป็นสองช่องทางหลักๆ ด้วยกัน โดยช่องทางแรก เป็นการขายทอดตลาดผ่านทางกรมบังคับคดี ซึ่งเป็นการขายทอดตลาดตามกระบวนการทางกฎหมาย หลังศาลตัดสินให้บังคับจำนองหลักประกัน มาขายทอดตลาด เพื่อนำเงินมาชำระคืนให้เจ้าหนี้ บ้านมือสองที่เสนอขายผ่านช่องทางนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านหลุดดาวน์จากสถาบันการเงิน

ดังนั้นข้อดีก็คือ ผู้ประมูลจะมีโอกาสได้รับบริการสินเชื่อจากสถาบันการเงินพ่วงเป็นของแถมด้วย แต่ข้อเสียก็คือ บ้านมือสองเหล่านี้ มักมีสภาพทรุดโทรม และการเข้าไปดูสภาพจริงๆ ในตัวบ้านทำได้ลำบาก เพราะมักติดปัญหากับเจ้าของหรือผู้อยู่อาศัย เดิม และเวลาประมูลได้แล้ว ก็มักมีปัญหาต้องฟ้องร้องขับไล่กัน

บ้านมือสองขายทอดตลาดผ่านทางเอกชน

อีกช่องทางหนึ่งเป็นการขายทอดตลาดบ้านมือสอง ที่ดำเนินการโดยเอกชน ส่วนใหญ่จะเป็นการขายบ้านที่ได้มาจากเจ้าของบ้านหรือเจ้าของโครงการที่ต้องการนำออกมาขาย หรือบางครั้งอาจเป็นทรัพย์สินของธนาคารที่ได้รับโอนมาชำระหนี้จากเจ้าของโครงการ และจ้างบริษัทเอกชนเป็นผู้จัดการขายโดยประมูลขายทอดตลาดให้

ข้อดีของการขายทอดตลาดโดยเอกชน ที่ชัดเจนที่สุด ก็คือ มีบ้านหลากหลายมากกว่า และสภาพบ้านก็มักดีกว่าบ้านจากกรมบังคับคดี เพราะส่วนใหญ่ ผ่านการซ่อมแซม ปรับปรุงตกแต่งบ้านมาบ้างแล้ว ข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือสามารถเข้าไปตรวจดูทั้งภายนอกและภายในบ้าน ก่อนการประมูล ได้ค่อนข้างสะดวก เพราะเป็นการขายที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของแล้ว

การซื้อบ้านมือสองจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลนั้น เกิดขึ้นจากเจ้าหนี้ยึดทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ค้างซึ่งลูกหนี้ก่อไว้ โดยจะนำเงินจากการขายทรัพย์สินของลูกหนี้มาชำระหนี้ หากยังมีเหลืออีกจึงเรียกชำระเพิ่มจากลูกหนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าการตั้งราคาทรัพย์สินเริ่มต้นในการเปิดประมูลสินค้านั้นมักจะเป็นราคาค่อนข้างต่ำกว่าราคาตลาดแท้จริง แล้วปล่อยให้ผู้สนใจเสนอราคาเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆจนกระทั่งเป็นที่พอใจของผู้ชนะก็จะได้ทรัพย์สินไป

หลายครั้งบ้านมือสองจากการขายทอดตลาดจะมีราคาต่ำกว่าราคาตลาดอย่างมาก อันเป็นจุดดึงดูดให้ผู้สนใจมองหาบ้านมือสองราคาถูกจากการขายทอดตลาดเป็นหลัก แม้จะมีปัญหาซ่อนไว้ คือ ลูกหนี้ไม่ยินยอมออกจากบ้านหรือที่ดินที่ถูกยึดไว้และเปลี่ยนเจ้าของใหม่แล้ว

Navigation